Category Archives: วรรคทองการลงทุน

QOI4- คำพูดกับอายุ

มาตรฐาน


buffet-world

ตอนผมอายุ 21 ต่อให้ผมพูดสิ่งที่ฉลาดที่สุดในโลก
ก็ยังไม่มีใครสนใจฟัง แต่พอมาตอนนี้
ต่อให้ผมพูดสิ่งที่โง่เง่าที่สุดในโลก คนจำนวนมาก
ก็ยังมานั่งวิเคราะห์ว่าผมซ่อนความหมายนัยๆอะไร
ไว้หรือเปล่า

Warren Buffett

ปล ขอบคุณคุณ Nick Manakulissara ที่โพสต์ไว้ใน Facebook นะครับ  ^^

12 กพ 2557

QOI3 : Don’t Time The Market

มาตรฐาน

สิ่งที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จระดับตำนานอย่าง Peter Lynch แนะนำบ่อยๆ
ว่าไม่ควรทำคือ Don’t time the market  แปลเป็นไทยว่า “อย่าจับจังหวะตลาด

แต่มันฝืนธรรมชาติมนุษย์ที่มียีนส์ที่ชอบความเสี่ยง เข้าใจได้ว่า มันสนุก ท้าทาย
ถ้าทายถูกบ่อยๆก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีซิ แต่เรายิ่งทายบ่อยๆ เรากลับใช้ ความรู้สึก
ใช้อารมณ์ของตลาด มาเป็นอารมณ์ตัวเอง แล้วเรายิ่งห่างคำว่าการลงทุนเข้าไปทุกที..ทุกที

แล้วเราควรทำอย่างไงดี ที่จะแก้นิสัยที่น่าสนุก แต่ไม่ดีต่อการลงทุนเช่นนี้เล่า?
ผมขอเสนอแนวทางที่ิพอจะคิดได้ ได้ลองทำดูแล้ว และได้ผลดีขึ้น ยังไงล่ะ ลองอ่านดูครับ

1.เปลี่ยนจากทายตลาด มาเป็นทายผลประกอบการณ์แทน  นี่จะเป็นการบังคับกลายๆให้เราทำการบ้าน
หรือคาดการณ์ปัจจัยแวดล้อมที่จะทำให้ตัวกิจการดีขึ้นหรือแย่ลง แถมยังต้องย้อนกลับไปดูผลงานที่ผ่านๆมา
ของกิจการด้วยว่า ที่ผ่านมาโตเป็นยังไง แล้วจะงบที่จะออก ถ้าจะโตขึ้น เพราะสาเหตุอะไร

แถมยังยืดระยะเวลาในการทาย จากทุกวัน ทุกสัปดาห์ เป็น 3 เดือน ทายกันที แล้วก็รอดูผลงานที่เีราทายว่าเป็นยังไง
ทายถูก กำไรบ.โต ก็ไม่มีเหตุผลที่หุ้นจะไม่ขึ้น ถึงหุ้นไม่ขึ้น ด้วยสภาวะตลาดอารมณ์ไม่ดี เราก็สบายใจ เพราะเรารู้ว่า
ผลการดำเนินของกิจการจริง มันได้กำไรนี่นา ในเวลาไม่ช้า ราคาจะสะท้อนมูลค่าเองครับ

2. Bath Cost Average ซื้อเฉลี่ยโดยกำหนดจำนวนเงินเป็นหลัก เช่น ตั้งใจจะซื้อหุ้นตัวนี้เดือนละ 3,000 บาท
เดือนแรก หุ้นราคา 1 บาท ได้ 3,000 หุ้น
เดือน2 หุ้นราคา 1.20 บาท ได้ 2,500 หุ้น
เดือน3 หุ้นราคา 0.8 บาท ได้ 3,750 หุ้น
เดือน4 หุ้นกลับมา 0.9 บาทได้ 3333 หุ้น
เดือน 5 หุ้น 1 บาท ได้ 3,000 หุ้น

เอาเท่านี้ก่อน สุดท้าย เราจะมีหุ้น = 15,583 หุ้น ใช้เงินไป 15,000 บาท เฉลี่ยหุ้นละ 0.96 บาท
จะเห็นว่าแถมต้นทุนที่ได้ส่วนใหญ่จะเสมอกับค่าเฉลี่ยหรือจะดีกว่าค่าเฉลี่ยด้วยครับ
แถมเราไม่ต้องเสียเวลาไปจับจังหวะตลาด อันนี้เหมาะกับคนที่ต้องการสร้่างวินัยให้กับตัวเอง
และอาจะไม่มีเวลาเจาะธุรกิจมากนัก แถมยิ่งตลาดลง ยิ่งมีโอกาสซื้อหุ้นได้จำนวนมากขึ้น
เป็นการเปลี่ยนวิธีการมองครับ

อ้อ หุ้นที่จะทยอยซื้อ ควรจะมีการเติบโตไปตาม GDP นะครับ มีรายได้ค่อนข้างแน่นอน หรือคาดการณ์ หรือเข้าใจได้
ถ้าเราเป็นมือใหม่ ยังไม่ควรเป็นลงทุนในหุ้นกลุ่มที่คาดการณ์รายได้ได้ยาก และไม่แน่นอน เช่น รับเหมา
โภคภัณฑ์ที่มีราคาแกว่งมาก เพราะอนาคตข้าง รายได้กับกำไร มันไม่ได้เพิ่้มขึ้นเป็นเส้นตรงครับ

แต่ถ้ายังเลิกการจับจังหวะตลาดไม่ได้ทันที ลอง 2 วิธีนี้ครับ

3. ทยอยซื้อ ทยอยขาย เช่น การจะเข้าหุ้นใหม่ หรือการจะ switch ไปตัวอื่นแืทน แทนที่จะขายหมด หรือ ซื้อหมด
ลองกำหนดกลยุทธ์ค่อยๆทยอย อาจจะเ็ป็น 3 ไม้ 5 ไม้ ตามความมั่นใจ ตัวนี้จะช่วยลด การขายหมู การติดดอยได้
เพราะเรามีแผนเฉลี่ยไว้แล้ว

4. ลดการใช้อารมณ์ โดยใช้เครื่องมือและข้อมูลประกอบ
ส่วนตัวผมมองว่า กราฟคือ ประวัติศาสตร์ที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว เราใช้ดูประกอบเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ
เป็นลดการใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ

โดยเฉพาะ ธุรกิจที่เีกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุดิบที่ราคามีการเคลื่อนไหว การที่เรารู้ศึกษาปัจจัยที่จะส่งผลกระทบแนวโน้มของวัตดุดิบ
โดยใช้การกราฟ ผมว่ามันก็ไม่ได้น่ารังเกียจเพราะมันคือการเอาข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นมาplotต่อกันเพื่อให้เห็นแนวโน้ม
จริงๆข้อนี้ก็มีส่วนที่เป็นข้อ 1 ปนอยู่ ต่างกันเพียงแค่ เราเอาปัจจัยต่างๆ ที่พอจะตีค่าได้มาประเมิณเป็นตัวเลข

นี่เป็นกราฟค่าระวางเรือ แต่ละแท่งแทน 1 เดือน พอเข้าใจแล้วใช่มั้ยครับว่า หุ้นวัฏจักร มันแกว่งแรงขนาดไหน
สูงสุด 12,xxx ตอนนี้ 7xx ต่างกันกี่เท่า ลองไปชั่งใจดู

ฉะนั้นถ้าคุณยังเป็นมือใหม่ และไม่เข้าใจวัฏจักรของมัน ไม่ใช่ลงแล้ว ซื้อเฉลี่ยขาลง แล้วจะคอยไปเรื่อยๆได้นะครับ
รอบมันอาจจะยาวนานกว่าที่คุณคิด

5.มีแผนสำรอง คือกำหนดแผนไว้ล่วงหน้าเลย ถ้าหุ้นขึ้นถึงจุดไหนจะทำอย่าง ถ้าหุ้นลงถึงจุดหนึ่งจะทำอย่างไร
ทั้งนี้อยากให้ดูว่า ที่หุ้นลงเป็น Nosie หรือ เป็นเพราะพื้นฐานเปลี่ยน

ผลการวิจัยจากกองทุนต่างๆ แสดงให้เห็นอยู่เป็นประจำครับ การที่เราลงทุนในกองทุนดัชนี ไม่ต้องวิ่งเข้าวิ่งออก
ซึ่งดูเหมือนไม่ค่อยได้ืทำอะไร ง่ายเหลือเกิน แต่กลับให้ผลตอบแทนดีกว่า กองทุนเชิงรุก ที่พยายามเข้าออกบ่อยๆ
ด้วยซ้ำไป

การให้เวลากับหุ้นหรือกิจการที่เราเลือกแล้วว่าดี ได้แสดงศักยภาพออกมา Philips Fisher บอกอย่างน้อยต้อง 3 ปี
Buffet บางตัว ซื้อแล้วก็ถือยาวจนปัจจุบันหลายสิบปี อย่าง Coca-Cola ก็เป็นที่ประจักษณ์แล้วว่า คุ้มค่ากว่าเป็นไหนๆ

ส่วนตัวผมนิยม Time the Profit & Growth ในธุรกิจที่ผมเข้าใจครับ 🙂

@Shaen
24 ก.พ. 55

QOI2 : MOS

มาตรฐาน

หายไปนานเลยกับ Qoi หรือ Quote of Investment หรือ ในชื่อไทยที่ว่า วรรคทองการลงทุน
ไม่ได้เหลวไหลนะครับ เพราะก็เขียนตอนอื่นๆเพลินไปหน่อย จนกระทั่้งมีเพื่อนมาถามว่า..

MOS คืออะไร? มอส ปฏิภาณ หรือเปล่า ถึงจะแป๊ก แต่มมุขนี้เป็นมุขบังคับ ที่ใครไ้ด้อ่าน
หรือเห็นก็ต้องนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ สำหรับคนที่ไม่ได้ลงทุน หรือลงทุนอยู่แต่ยังศึกษาไม่ถึง

ซึี่งผมมองว่า มันแทบจะเป็นคำแท่ง (คำศักดิ์สิทธิ์ – ยังไม่หยุดยิง -__-) ของนักลงทุนแนว
VI เลยครับ และมันควรเป็นวรรแรกๆ ที่นักลงทุนแนวคุณค่า ควรจะรู้จักเลยนะ เพราะ
มันเป็นหัวใจของการลงทุน ที่จะช่วยให้คุณรอดพ้นหรือลดอัตราการอยู่ดอยให้น้อยลง

MOS ย่อ มาจาก Margin of Safety โดยเป็นบัญญัติโดย “Graham and Dodd” ตั้งแต่ปี 1934 นู้นเลย
แปลเป็นไทย “ขอบเขตของความปลอดภัย” จะยิ่งงงหนักไปอีกมั้ย แต่ถ้าอธิบายแบบวิชาการหน่อย
จะเขียนในรูปสมการได้แบบนี้

MOS = instinc value – market price

แล้วก็จะงงกับ instinc value อีก แปลไทยง่ายสุดๆในแบบของผมคือ

MOS = มูลค่าที่ควรจะเป็น – ราคาซื้อขายในตลาด

แต่มูลค่าที่ควรจะเ็ป็นของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันอีก อันนี้ก็แล้วแต่ว่าจะใช้วิธีไหนในการประเมิณนะครับ
ยกตัวอย่างเื่พื่อลดความงง สมมติน้องผมมีแสตมป์ตราไว้ที่ 1 บาท 2 ดวง ราคาตลาดหรือความสามารถ
ของมันก็ถือ ใช้เป็นอาการแปะจดหมาย=1 บาท ถูกมั้ยครับ แต่พอดีผมเห็นอะไรบางอย่าง ขอซื้อน้อง
100 บาืท น้องมันงงๆ ซื้อมาบาทเดียว ขายได้ 100 นึงก็เอาดิ แล้วค่อยไปซื้อใหม่ก็ได้ ได้กำไรเห็นๆ

แต่สิ่งที่ผมเห็นคือ แสตมป์มันไม่ธรรมดา เพราะมันพิมพ์พลาดไป ทำให้กลายเป็นของหายาก ของสะสมไป ถ้าเอาไปปล่อยไปในตลาด
ที่เค้าเล่นกัน ทีาเค้าเห็นมูลค่าเหมือนอย่างที่เราเห็น มูลล่าจะพุ่งขึ้นไปอย่างน้อย 1,000 บาืท !!

พอเข้าใจแล้วใช่มั้ยครับ ผมยอมซื้อ 100 นี่คือ ราคาซื้อขาย แต่ 1,000 นี่คือมูลค่าที่ผมเห็นและคิดว่าควรจะเป็น และน้องผมก็พอใจ
ที่จะขายในราคานั้น ส่วนมันจะรู้หรือเปล่า ผมเอาไปขายได้เท่าไหร่

นี่เป็นเรื่องสมมตินะครับ ถ้าผมขายได้จริง ผมก็จะแบ่งเท่าๆกัน เพราะผมถือว่า ผมมีัข้อมูลที่เป็นประโยชน์และน้องมีของ ถือว่า
เกื้อกูลซึ่งกันและกัน และผมคงไม่สบายใจที่จะเอาข้อมูลที่ผมรู้ มาหากินแบบนี้ ไม่ใช่แนวผมครับ

การลงทุนก็ใช้หลักคิดเดียวกัน โดยผมมองว่า มันแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. มอง Growth หรือ Upside
2. มอง Risk หรือ Downside

ยกตัวอย่างหุ้น ABC ทำการบ้านมาอย่างดีระดับนึง ราคาในกระดาน 10 บาท สภาวะตลาดปกติแต่ผมคำนวณมูลค่าที่ควรจะเป็น
ได้ 12 บาืท อย่างนี้ upside = 20%

แต่ถ้าตลาดไม่ปกติ จะด้วย panic ชั่วคราวด้วยสาเหตุอะไรก็แล้ว มีโอกาสที่มันจะลงมาอีก 10-20% ถ้าเปิดใจใช้กราฟเข้ามาช่วย
จะทำให้เห็นภาพชัดว่า ทุนเฉลี่ย ณ ระดับเวลาต่างๆ มีเท่าไหร่กันบ้าง

สมมติ
ค่าเฉลี่ย 10 วัน = 10 บาท
ค่าเฉลี่ย 30 วัน 9.5 บาืท
ค่าเฉลี่ย 200 วัน 9 บาืท

แล้วตลาด panic จริง มันหล่นลงมาที่ 9.5 บาท แสดงว่า มี MOS = 12/9.5 = 26.31%
และถ้ามันหล่นมาที่ 9 บาท จะมี MOS = 33.33%

ถ้าเรารอ ณ ช่วงราคาดังกล่าว สมมติได้ที่ 9.5 50% และ 9 บาืืท 50 % เราจะมี MOS ประมาณ 30% ณ เป้าหมาย 12 บาท
และถ้าตลาดเด้งมาที่เดิมที่ 10 บาท เราก็ได้กำไร = 10/9.25 = 8.10% แล้ว

อย่างไรก็ดี MOS ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน เพราะต่างกันด้วยเหตุผล และ กรอบเวลา

นี่คือ MOS Hybrid ในแบบของผมครับ หวังว่้าจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ และขอปิดท้ายด้วยเพลงนี้ วรรคทองการลงทุนนี้
ถึงจะมาช้าไปหน่อย แต่ มาแล้ว ยังดีกว่ามาช้า มาช้ายังดีกว่าไม่มา เนาะ

ปล. สุดท้าย ผมแทรกมุข สามหนุ่มสามมุมครบจนได้ เอิ๊กๆ
ปล2 MV บอกวัยจริงๆ แต่เชื่อว่า มีคนร้องตามได้ 55

@Shaen
23 ก.พ.55