Monthly Archives: มกราคม 2013

บันทึกลวกจิ้มวุ้นเส้น

มาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์วุ้นเส้น ภายใต้เครื่องหมาย “มังกรคู่” “หงษ์” “กิเลนคู่”
ผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้และแป้งสลิ่ม ภายใต้เครื่องหมาย “มังกรคู่”
ผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวสดและเส้นหมี่สด ภายใต้เครื่องหมาย “กิเลนคู่”
ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง สาคู แป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวเจ้า ภายใต้เครื่องหมาย “นิวเกรด”
ยี่ห้อ KK (OEM ให้ Lotus)

ตลาดวุ้นเส้น

วุ้นเส้น ตลาดภายในประเทศมีการบริโภควุ้นเส้นปีละประมาณ 32,000 ตัน มูลค่าการตลาดวุ้นเส้น 1,200 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.0 ต่อปี ปัจจุบันโรงงานผลิตวุ้นเส้นในไทยที่ขึ้นทะเบียนโรงงานมีจำนวน 15 ราย โดยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท สิทธินันท์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมวุ้นเส้นไทย จำกัด และบริษัท ไทยวาฟู้ดโปรดักส์ จำกัด

โดยสัดส่วนการจำหน่ายของตลาดแบ่งเป็นวุ้นเส้นเกรด A (ผลิตจากแป้งถั่วเขียว 100%)
30% วุ้นเส้นเกรดB และเกรดCอีก 70% สำหรับการทำตลาดของวุ้นเส้นเกรด A จะเน้นการจำหน่ายในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองเป็นหลัก ส่วนวุ้นเส้นเกรดBและC จะเน้นการจำหน่ายไปยังต่างจังหวัด

ผลิตภัณฑ์ประเภทเส้นก๋วยเตี๋ยว ทั้งเส้นสดและอบแห้ง มีมูลค่าตลาดถึง 1.2 หมื่นล้านบาทในประเทศไทย
(พอๆกับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเลยอะ)

แบ่งเป็นเส้นสด 6 พันล้านบาท /เส้นอบแห้ง 6 พันล้านบาท : ไวไว” เป็นเจ้าตลาดใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 80%

ผู้บริโภคมองว่าวุ้นเส้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปรุงยากเมื่อเทียบกับอาหารชนิด อื่นๆ และมีราคาจำหน่ายที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวุ้นเส้นเกรดเอซึ่งมีราคาจำหน่ายที่สูงกว่าเกรดบีและซี ประมาณ 20% จะมีการแข่งขันที่น้อยมาก ส่วนวุ้นเส้นเกรดบีและซีจะเน้นการแข่งขันทางด้านราคาเป็นหลัก

คู่แข่งในประเทศ

บริษัท ไทยฮา จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพและสินค้าเกษตร ต่างๆ โดยช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้ลงทุนกว่า 10 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตวุ้นเส้นตราเกษตรให้เพิ่มขึ้นอีก 30% นอกจากนี้ยังได้ขยายการผลิตวุ้นเส้นแบรนด์ใหม่ภายใต้ชื่อตราฉลาดชิม โดยเน้นการทำตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริโภคระดับกลาง ส่วนตราเกษตรจะยังคงเน้นการจำหน่ายไปยังลูกค้าระดับพรีเมียม ซึ่งแผนการรุกตลาดของวุ้นเส้นตราฉลาดชิมในต่างประเทศจะใช้ช่องทางการจำหน่าย แบบเดียวกับสินค้าตราเกษตร โดยวุ้นเส้นตราฉลาดชิมจะส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศภายใต้ชื่อแบรนด์ภาษา อังกฤษว่า สมาร์ท เชฟ ปัจจุบันสินค้าของบริษัท ไทยฮา จำกัดสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้กว่า 30 ประเทศ

นอกจากวุ้นเส้นตราเกษตรและตราฉลาดชิมแล้ว ในตลาดวุ้นเส้นของไทยก็ยังมีคู่แข่งแบรนด์อื่นๆ อีกมากทั้งวุ้นเส้นเกรดเอ  บี และซี ไม่ว่าจะเป็นวุ้นเส้นตรามังกรคู่ , ตราท่าเรือ , ตราสายฝน  และยังมีวุ้นเส้นที่เรียกว่าวุ้นเส้นสดจำหน่ายตามตลาดสดอีกด้วยซึ่งวุ้น เส้นดังกล่าวจะมีราคาจำหน่ายที่ถูกกว่า ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารนิยมที่จะเลือกใช้

คู่แข่งต่างชาติ

ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในโลกสำหรับตลาดการส่ง ออกจำหน่ายวุ้นเส้น แต่ปัจจุบันความนิยมวุ้นเส้นที่ผลิตจากประเทศจีนได้เริ่มมีการลดน้อยถอยลงไป มาก เนื่องจากประเทศจีนกำลังประสบกับปัญหาในเรื่องของคุณภาพผลิตภัณฑ์ส่งผลให้ ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ และการที่ค่าแรงของคนงานจีนซึ่งสูงขึ้นทุกวันทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาจำหน่าย ที่สูงขึ้น ซึ่งคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าประเทศจีนอาจมีการยกเลิกการผลิตวุ้นเส้นก็เป็นไปได้ นอกจากนี้การที่ประเทศจีนยังคงใช้เทคโนโลยีในการผลิตแบบเดิมๆ ก็ส่งผลให้ผู้ผลิตเกิดความไม่คุ้มค่าในการผลิตได้

ปัจจัยที่น่าสนใจ
1. P/E ยังต่ำเมื่อเทียบกับในกลุ่ม แต่ก็เพราะตลาดไม่ได้โตหวือหวานัก
2. ขยาย AEC เป็นโอกาสในการขยายไปยังรอบๆ (ต้องทำการบ้านว่าสู้กับเจ้าอื่นในตปทได้มั้ย)
3. หนี้น้อยมาก D/E ไม่ถึง 0.2
4. กำไรสะสมเกือบ 900ล้าน ปกติกำไรปีละ 200 ล้าน
5. ratioดี roa,roe>20 ,npm ยังเกือบ20 ! แต่สภาพคล่องน้อย
6.ได้ผถหใหญ่รายใหม่ อาจมีนโยบายใหม่
7. Utils ยังแค่60%
ปัจจัยที่กดดันและน่าจับตา
1. payout น้อยไปหน่อย ที่ผ่าน35-45% เองอ่ะ แรงจูงใจเลยน้อยไปหน่อย
2. ค่าแรง 300 จะกระทบแค่ไหน (ยังไม่ได้โทรไปถาม IR)
3. CP จะโดดลงมาเล่นด้วย (มองอีกมุม แสดงว่าตลาดนี้มีศักยภาพจิ หรือจะมา Take ไปเลย เหอๆ)
4. ต้นทุนวัตถุดิบอาจจะผันผวนตามภูมิอกาศและสภาพตลาด
ต้นทุนในการผลิตมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก
4.1 ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะบริษัทนำเข้าวัตถุดิบแป้งมันฝรั่งเพื่อผลิตวุ้นเส้น 65%
4.2 อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
4.3 บ.ใช้เครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพื่อทดแทนเครื่องกำเนิดไอน้ำแบบเดิมที่ใช้น้ำมันเตา
รายงานการประชุมปี 2555 ย้อนหลัง (27-04-2555 : ข้อมูลจาก ThaiVI)
บริษัทได้ชลอการขยายโรงงานออกไประยะหนึ่งเนื่องจากยอดขายก๋วยเตี๋ยวและผลิตภัณฑ์จากข้าวของบริษัท
ซึ่งมีแนวโน้มในการเจริญเติบโตที่ดี มีการเติบโตที่ช้า เป็นผลจากคู่แข่งขันในตลาดมีจำนวนมาก
ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก : ปัจจุบันมียอดขายเฉลี่ยที่ 20 ตันต่อเดือน ซึ่งเพิ่มขึน้ เท่าตัว เมื่อเทียบกับ
ยอดขายเฉลี่ยที่ 10 ตันต่อเดือนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554
เส้นหมี่ : บริษัทนำผลิตภัณฑ์เส้นหมี่ออกสู่ตลาดเมื่อปลายปี 2554 ปัจจุบันมียอดขาย
เฉลี่ยที่ 14-15 ตันต่อเดือนซึ่งยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ : บริษัทจะนำผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ออกสู่ตลาดในเดือนมิถุนายน 2555
บริษัทได้เร่งดำเนินการให้ผู้แทนจำหน่ายวุ้นเส้นสดของบริษัทจำนวน 100 ร้านค้าทั่วประเทศ กระจาย
ผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวของบริษัทออกสู่ท้องตลาดให้มากขึน้ อย่างไรก็ตาม บริษัทประสบปัญหาการกระจาย
สินค้าในบางพื ้นที่ เนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหญ่ครอบครองตลาดอยู่ก่อนแล้ว ทำให้การกระจายสินค้าใน
บางพืน้ ที่ทำได้ไม่เต็มที่
ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างการวางแผนและออกแบบโรงงาน รวมทัง้ ปรับปรุงกระบวนการผลิตก๋วยเตี๋ยวและ
เส้นหมี่ให้ดียิ่งขึน้ อย่างต่อเนื่อง
ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มอาหาร จะเห็นว่า P/E ยังต่ำเตี้ยเป็นรองจ่าฝูง

ขอบคุณแหล่งข้อมูลทุกที่ครับ -/\-สาเหตุที่ดูตัวนี้ เพราะดูเหมิอนจะถูก
แต่ก็เพราะมันไม่มีปัจจัยที่จะกระตุ้นให้โตเร็วกว่านี้

อ่านดูแล้ว ก็เลยจดไว้เป็นที่ระทึกเช่นนั้นแล

16 ม.ค.56

โดย Shaen (1154)