Tag Archives: global

Global ภาค9 Partial Tender Offer

มาตรฐาน

และแล้วสิ่งที่คาดไว้ ก็บังเกิด แต่เกิดเร็วกว่าที่คาด เพราะถ้ายืดเยื้อไปกว่านี้ เชื่อได้ว่า SCG คงต้องซื้อ Global
ในราคาที่แพงขึ้นกว่านี้แน่นอน เพราะ Global สามารถต่อรองได้ว่า สาขาที่จะเปิดใหม่ มีเพิ่มขึ้นนะเธอ
SCG ก็เลยต้องรีบปิดดีล (อันนี้ผมอ่านเกมเอาเองนะ ^^!)

พิ่มเติม หลังจากเขียนบทความไปปีกว่าๆ Global แจกปันผลเป็นหุ้นอีก 2 ครั้ง
5:1 และ 6:1  ถ้าคำนวณมูลค่าเทียบแบบปกติ ให้เอา x 6/5 x 7/6  = x 1.40 ครับ
15 มกราคม 2557

ไปดูเนื้อข่าว ที่ทั้งคู่ตกลงกันครับ


นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ ​เอสซีจี ​เปิด​เผยว่า ​เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น ​ได้บรรลุข้อตกลง​การร่วมลงทุน​ในสยาม​โกลบอล​เฮ้าส์ ​ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 30.01 ​ถึงร้อยละ 33.40 ของสิทธิออก​เสียง​ทั้งหมด ด้วย​การซื้อหุ้นสามัญ​เพิ่มทุน ​ซึ่งสยาม​โกลบอล​เฮ้าส์ จะออก​และ​เสนอขาย​ให้กับ​เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น ​แบบ​เฉพาะ​เจาะจง (Private Placement) จำนวน 224 ล้านหุ้น ​ในราคาหุ้นละ 14 บาท ​และ​การ​ทำคำ​เสนอซื้อหลักทรัพย์บางส่วน (Partial Tender Offer) ​ทั้งหุ้นสามัญ​และ​ใบสำคัญ​แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นจาก​ผู้ถือหลักทรัพย์ของ สยาม​โกลบอล​เฮ้าส์ ​โดย​ทำคำ​เสนอซื้อหุ้นสามัญจำนวน​ไม่​เกิน 457,420,683 หุ้น ​และ​ไม่ต่ำกว่า 391,094,684 หุ้น ที่ราคา 14 บาทต่อหุ้น ​และคำ​เสนอซื้อ​ใบสำคัญ​แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นจำนวน​ไม่​เกิน 55,616,085 หน่วย ​และ​ไม่ต่ำกว่า 47,551,750 หน่วย ที่ราคา 9.30 บาทต่อ​ใบสำคัญ​แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หลังจากธุรกรรมข้างต้น​เสร็จสิ้น ​เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จะมีสัดส่วน​การถือหุ้น​โดยประมาณ​ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30.01 ​และ​ไม่​เกินร้อยละ 33.40 ของจำนวนหุ้นสามัญหลัง​การ​เพิ่มทุน​และหลัง​การ​ใช้สิทธิของ​ใบสำคัญ​แสดง สิทธิ​ทั้งหมด ​โดย​ได้มี​การลงนาม​ในสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญ​เพิ่มทุนกับสยาม​โกลบอล​ เฮ้าส์​แล้ว ​เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2555 ด้วยมูลค่า​การลงทุน รวม​ถึง​การ​ใช้สิทธิซื้อหุ้นจาก​ใบสำคัญ​แสดงสิทธิประมาณ 10,000 ล้านบาท
นายขจร​เดช ​แสงสุพรรณ กรรม​การ​ผู้จัด​การ​ใหญ่ ​เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น กล่าวว่า ​การตัดสิน​ใจลงทุนครั้งนี้ ​เพื่อ​เข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกสินค้าวัสดุก่อสร้าง​ในรูป​แบบของร้านค้าคลัง สินค้า (Warehouse Store) ​ซึ่งมีอัตรา​การ​เติบ​โต​ในระดับที่สูงอย่างต่อ​เนื่องตามพฤติกรรม​ผู้บริ​ โภคที่​เปลี่ยน​แปลง​ไป ​โดยสยาม​โกลบอล​เฮ้าส์ ​เป็น​ผู้นำ​ในธุรกิจค้าปลีกสินค้าวัสดุก่อสร้าง วัสดุตก​แต่ง อุปกรณ์งานก่อสร้าง ต่อ​เติม ตก​แต่งบ้าน อาคาร ​และสวน ​ในรูป​แบบของร้านค้าคลังสินค้า ที่รวมสินค้าหลากหลาย​แบบ​และครบวงจร ​เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น มุ่งหวังที่จะ​เป็น Strategic Partner ของสยาม​โกลบอล​เฮ้าส์อย่างยั่งยืน ​เพื่อ​เสริมสร้าง​ความ​แข็ง​แกร่ง​และศักยภาพ​การขยายธุรกิจ​ทั้ง​ในประ​ เทศ​ไทย ​และประ​เทศอื่นๆ ​ในภูมิภาคอา​เซียนต่อ​ไป
​ทั้งนี้ ​การ​เข้าร่วมลงทุนดังกล่าวจะต้อง​ได้รับ​ความ​เห็นชอบจากที่ประชุม​ผู้ถือ หุ้นของสยาม​โกลบอล​เฮ้าส์ ​ในวันที่ 1 ตุลาคม 2555

ผมลองจิ้ม Excel คร่าวๆ หลังปูนมา PTO(Partial Tender Offer) เพราะมีประเด็นว่า เมื่อมีการเพิ่มทุน
ถึงแม้นจะเป็นแบบ PP ก็เถอะ แต่ก็ทำให้ Dilute ผู้ถือหุ้นเดิม

ก็ต้องชั่งว่า สิ่งที่ SCG จะมีมาให้นั้น คุ้มค่าหรือไม่ มาลองจินตนาการเล่นๆกัน

ถ้าตามแผนใหม่แบบเบาะๆ ดูืที่วงแดงๆไว้ นั่นคือสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง
– ขยายสาขา จากเดิม 8=>10
– และ ต้นทุนการเงินลดแค่ 25% จากของเดิม
– จำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นมาใส่ส่วนของ SCG ก็จะ Cover ส่วน Dilute แล้วครับ

แต่ถ้าขยายสาขา > 10 หรือไปช่วยต้นทุนการเงินมากกว่า 25-30 % EPS ก็จะมากกว่าเดิมในปีหน้าไปเลย

– Topline น่่าจะโตขึ้นจากสินค้าตระูกูลปูนมาขาย Margin ก็น่าจะได้เพิ่มขึ้น
– พวกระบบ Logistic , Inventory คงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ปูนกำลังทดลองระบบ Logistic ใหม่ด้วย ^^)
– สาขา Global นอกจากจะขายสินค้าให้ลูกค้าแล้ว น่าจะใช้เป็น Sub DC กระจายให้
ซีเมนส์ไทยโฮมมาร์ทด้วย ของก็น่าจะหมุนได้เร็วขึ้น

โดยรวมๆ เป็นเรื่องดีครับ แต่จะดีมาก หรือ ดีน้อย ดีเร็ว ดีช้า ก็ขึ้นกับแผนแบบละเอียดครับ
ซึ่งผมไม่ีู้รู้ครับ ก็เลยคาดการณ์มาให้ดู ให้ชั่งน้ำหนักกัน

แต่กรณีนี้เคยเกิดขึ้นกับ Q-Con (ผลิตอิฐมวลเบา) มาก่อนแล้ว โดนปูนเจ้านี้แหละทำ Tender Offer เมื่อต้น ก.พ. 53
เลยไปดูกำไรย้อนหลัง ว่าหลังโดน Tender Offer จะเป็นยังไง ก็ปรากฏว่า โอ้ กำไรก็โตขึ้นตลอดหลังจากโดน TO

Image

ราคาก็โตตามผลประกอบการณ์ เส้นในแนวตั้งก็คือ ช่วงที่โดน Tender Offer ครับ
ที่น่าสังเกตมากๆ ก็คือ PE 120 !!! ตอนที่ Tender Offer นะครับ
แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผลประกอบการณ์ก็ดึง PE ลงมาระดับปกติได้

อันนี้แค่หยิบยกกรณีที่เคยผ่านไปแล้ว มาให้ดูนะครับ สำหรับ Global อาจจะเหมือนหรือต่างออกไปก็ได้

โปรดใช้วิจารญาณในการลงทุนให้มากๆ เพราะเงินทองกว่าจะหามาได้ยากลำบาก
ผมก็บันทึกสิ่งที่ผมคิด วิเคราะห์ได้ จากมุมมองของผม ณ ตอนนี้เอาไว้ อ่านย้อนหลัง

28 สิงหาคม 2555
@Shaen

Global ภาค8 New RoadMap

มาตรฐาน

หลังจากได้ข้อมูลการขยายสาขาจนถึงปี 2015(2558) ของ Global จากเพื่อนๆ ก็มีเสียงเชียร์ให้ทำการบ้านต่อ
+ ตัวเองอยากทำ version ที่เป็นข้อมูลล่าสุดเรื่อบๆด้วย ^^

Version นี้อิงโดยคำนวณ EBITDA แยกออกมา แล้วก็ตัดค่าเสื่อม + ต้นทุนทางการเงิน ออกไป
(ด้วยคำแนะนำจากคุณ nut776 ครับ)

GLOBALขยายสาขา

บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL ยังคงเป้าหมายเปิดสาขา 7 แห่งในปีนี้คือ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ พิษณุโลก ลำพูน มุกดาหาร และอีกหนึ่งแห่งในต่างจังหวัด แต่ในปีถัดๆไปมีการเปิดสาขาในอัตราเร่งด่วนมากขึ้น โดยปีหน้าจะเปิด 8 แห่ง มีที่ดินแล้ว 4-5 แห่งคือ ลำปาง และ 2 แห่งในภาคใต้ ส่วนปี 2557 และ 2558 คาดจะเปิดสาขา 10 และ 12 ตามลำดับ ส่งผลให้มีจำนวนสาขารวมเป็น 50 แห่งในปี 2558 เทียบกับปี 2554 ที่มีสาขา 13 แห่ง

ทั้ง นี้ การเปิดสาขา 37 แห่งในช่วงปี 2555-2558 คาดว่าใช้เม็ดเงินลงทุนรวมประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน เนื่องจากบริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 1,200-1,300 ล้านบาท/ปี เม็ดเงินที่คาดจะได้จากการแปลงสภาพ GLOBAL-W ราว 2,000 ล้านบาท และบริษัทยังสามารถกู้เงินได้อีก 6,000 ล้านบาท ปัจจุบันอัตราหนี้สินสุทธิต่อทุนอยู่ที่ 0.6 เท่า

สำหรับ GLOBAL จะสร้างศูนย์กระจายสินค้า (DC) ที่พระนครศรีอยุธยา คาดว่าจะเสร็จในช่วงกลางปีหน้า และจะทำให้จำนวนวันสินค้าคงคลัง (Inventory day) ลดลงจากที่สูงถึง 150-170 วัน

อ้างอิง
http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=70227

ดู Global Valution 2012-2015 ได้ที่
https://docs.google.com/spreadsheet/ccc?key=0Aqe8gVM5dTQqdHNMUkNuOEhoMDJiN0lfQVVtRmNlYmc#gid=19

Image
Image
ปล ผมเคยเขียน mail ไปคุยกับ นักวิเคราะห์ที่ลงบทวิเคราะห์ใน Settrade ทั้ง 2 เจ้า
สิ่งที่แตกต่างกันกับที่ผมทำคือ สมมติฐานต่างกัน กล่าวคือ ทั้ง2 ท่านจะใช้ สมมติฐาน ปีหน้า2556 ขยายแค่ 4 สาขา
และ ใช้จำนวนหุ้นรวม warrant ทั้งหมดภายในปี 2555 เป็นตัวหาร ทำให้ EPS ต่ำกว่าที่ผมคำนวณได้นะครับ ^^

ประมาณการที่เกิดขึ้น เกิดจาการใช้ข้อมูลจากที่ค้นได้ อาจคลาดเคลื่อนจากกำหนดวันเปิดสาขา
โปรดใช้วิจารณญาณนะครับ ^^

อันนี้แถมเป็นมุมมองจาก Marketcap ครับ
ผมเคยได้ฟังสัมภาษณ์จากผบห. บ.วัสดุก่อสร้างเจ้าใหญ่เจ้านึง เค้าให้มุมมองว่า

GDP ประเทศไทยประมาณ 334,000 ล้านเหรียญ = 10 ล้านล้านบาท
ตลาดวัสดุก่อสร้าง 1.5% => 1.5 แสนล้าน
และตลาดของประเทศที่อิ่มตัวแล้วจะอยู่ 4-5% ของ GDP =>  4-5 แสนล้าน
=> ตลาดโดยรวมยังโตได้อีกประมาณ 3 เท่า

หรือถ้า GDP ประเทศไทยยังโตขึ้นไปได้อีก ตลาดวัสดุก่อสร้างและตลาดอื่นๆที่อิงกับ GDP
ก็มีสิทธิ์โตตามขึ้นไปด้วย

@Shaen
เขียนครั้งแรก 27 มิ.ย. 55

Global ภาค7 NPMที่แอบแฝง

มาตรฐาน
พอดีตอบกระทู้จากเพืิ่อนสมาชิกใน ThaiVi แล้วคึกตอบยาว เลยยกมาเพิ่มเติม
แปะเป็นภาค 7 เลยแล้วกันครับภาคนี้จะเผยความลับที่ซ่อนอยู่้ครับ

เืพื่อนสมาชิก wrote:

global npm ต่ำลงเรื่อยๆนะครับ ส่วน hmpro ดีขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้ hmpro น่าจะดีกว่า ?

ผมตอบ :
ณ ตอนนี้ อัตราส่วนทางการเงินของ HMPRO ดีกว่า GLOBAL แทบทุกตัว แน่นอนครับ
เพราะ ตอนนี้ รูปของของการขยายสาขาที่แตกต่างกัน แต่มันมีอะไรซ่้อนอยู่ครับ !

HMPRO
– จับตลาด กลา่ง-บน เน้น Home User เป็นหลัก สินค้าพวกนี้กำไรเยอะกว่าพวกสินค้าโครงสร้างครับ
เน้นพื้นที่ Premium และมีการขยายสาขาสัดส่วนเช่าในห้างเยอะ ไม่ได้ใช้เงินลงทุนมากเท่าตั้ง Stand Alone ครับ
และมีสาขามากพอที่จะทำให้กระแสเงินสด เพียงพอต่อการขยายสาขา

GLOBAL เน้นตลาด กลาง-ล่าง + ผู้รับเหมา สินค้าโครงสร้่าง Margin น้อยกว่า
แต่ได้เรื่องปริมาณมาแืทน ฉะนั้นการขยายสาขามากขึ้น จะได้ประโยชน์จาก Economy of Scale ครับ
ต่อรอง Supplier ได้เยอะขึ้น OverHead ต่อสาขาก็จะลดลง

การขยายสาขา เน้นการลงทุนบนพื้นที่ของตัวเองใน ต่างจังหวัด
ฉะนั้นการที่เจ้าของที่จะให้เช่า มันก็ได้เงินไม่เป็นก้อน เจ้าขายที่เลยเรียกราคาค่อนข้างสูง
ผบห ชั่งน้ำหนัก ทั้งแบบ ซื้อ/เช่า แล้ว ถ้าเป็นพื้่นที่ต่างจังหวัด ซื้อคุ้มกว่าในระยะยาว
และมูลค่าของที่ดินบริเวณนั้นก็จะเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาด้วย

ณ ตอนนี้ จำนวนสาขาของ Global ยังไม่มากพอที่จะสร้างกระแสเงินสดโดยไม่พึ่งพิงการกู้ครับ
จึงมีบางส่วนต้องกู้จากธนาคาร แต่กำไรที่ได้ก็มากพอที่จะขยายตัวไปเรื่อยๆครับ
แต่เมื่อมีจำนวนสาขามากพอ มีกำไร > ขยายสาขา
ณ ตอนนั้นก็มีสิทธิ์เลือกที่จะจะลดต้น ลดดอกได้แล้ว ณ ตอนนั้น เมื่อต้นทุนทางการเงินลดไป
NPM ก็พุ่งเอาง่ายๆครับ

——————————————————————————
Image
ไตรมาสล่าสุด Q1/55 ของ HMPRO 46 สาขา
รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ 8,657.57
กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ 832.11
ต้นทุนทางการเงิน 29.19 => 3.5%
ภาษีเงินได้ 192.58
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 610.33
NPM = 610.33/8,657.57 = 7%

—————————————————————–
Image

ของ GLOBAL 14 สาขา ณ ไตรมาสล่าสุด Q1/55
รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ 2,506.12
ค่าเสื่อม 62.31 ล้าน
กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ 224.20
ต้นทุนทางการเงิน 38.24 => 17%
ภาษีเงินได้ 47.67
เหลือกำไรสุทธิ 138.28
NPM = 5.5%

ถ้าต้นทุนการเงินลดลงจาก Warrant หรือมี กองทุนสนใจลงทุน(จาก AGM มีคนขอพบ ผบห เยอะมากๆครับ )
เอาแึ้ึค่เหลือ 7 % ให้ยังต้นทุนมากกว่าเป็น 2 เท่าของ HMPROเลย

ต้นทุนทางการเงิน(ใหม่) 7%= 15.7 ล้าน
กำไรสุทธิจะ = 224.20-15.7-47.67 = 160.83
NPM ใหม่= 6.41% => +16.5%

หรือแค่ลอง บวกกลับค่าเสื่อม ไป 62.31 ล้าน โดยใ้ช้ต้นทุนการเงินเดิมนี่แหละ

กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ 224.20+62.31 = 286.51 ล้าน
ต้นทุนทางการเงิน 38.24 (ใช้ของเดิม)
ภาษีเงินได้ 47.67=> 66 ล้าน
เหลือกำไรสุทธิ 286.51-38.28-66 = 182.23 ล้าน  (เดิม 138 ล้าน +31.8% ที่ซ่้อนอยู่)
NPM = 7.27 % !! > HMPRO ซะอีก
(แก้ไขจาก ThaiVi นะครับ เพราะ EBITDA เพิ่ม ภาษีต้องเพิ่มตามด้วย)

การคิดค่าเสื่อมทำให้ประหยัดภาษีไปได้ประมาณ 18 ล้าน!

แล้วถ้าเอา 2 ปัจจัยมาบวกกันล่ะครับ หึ หึ มันจะกระฉูดขนาดไหน

นี่แหละครับ ที่ผมพยายามจะบอก

จะเห็นว่า มีการปรับมูลค่าสินทรัพย์ทุก 3 ปี แต่ละครั้งก็ขึ้นโขเลยครับ แต่ข้อเสียคือ
ในตอนเริ่มใช้เงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างมาก + ค่าเสื่อมทางบัญชีจะดูเยอะ เมื่อเปิดสาขาใหม่

ค่าเสื่อมนี่ บริษัทไม่ได้จ่ายเงินออกไปนะครับ แถมยังทำให้จ่ายภาษีน้อยลงด้วย 🙂
ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้มีเงินลงทุนในบริษัทเพิ่มได้อีกครับ

เมื่อปีท้ายๆหรือครบกำหนดตัดสินทรัพย์ทางบัญชี หรือตัดน้อยลง ตัวสินทรัพย์ประเภทร้านกึ่งโกดังจะยังใช้งานอยู่
อาจะมีแค่ค่าดูแลรักษา ตอนนั้น NPM จะพุ่งเลยครับ

คล้่ายๆกับกรณีธุรกิจการเดินสาย เดินท่อ วางรากฐานในครั้งแรกๆ จะโดนค่าเสื่อมในช่วงแรกเยอะ
แต่เมื่อตัดค่าเสื่อมหมด แต่ท่อหรือโครงข่าย ยังใช้ได้อยู่ ที่เหลือก็กำไรล้วนๆครับ

แต่ถ้าเป็นเครื่องจักรในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนเทคโนโลยี ถ้าตัดค่าเสื่อมครบ
อาจบรรจบกับหมด cycle ของ product line นั้นแล้ว ถ้าจะลงทุนต่อ ก็ต้องสั่งเครื่องจักรใหม่หมด
อันนี้มีผลแน่คับ

การดูหรือเปรียบเทียบ NPM ถ้าพิจารณาองค์ประกอบเสริมของแต่ละธุรกิจด้วย จะท่ำให้เห็นภาพชัดขึ้นครับ

และภาคนี้จะเป็นเครื่องยืนยันชี้ชัดว่า ทำไม Global จึงเป็นคู่้แข่งที่หลายๆคนเริ่มจับตาไม่กระพริบ
ถึงขั้นมีการสืบเสาะกันจากคู่แข่งว่า จะไปเปิดที่สาขาไหนอีก
และตอบคำถามที่ว่า ทำไมถึงกล้าขยายสาขา
มากซะขนาดนี้ แล้วทำไมธนาคารให้ปล่อยกู้ได้อีก

เพราะความจริงแล้ว อัตรากำไรสุทธิที่ซ่้อนอยู่เยอะกว่า HMPRO ซะอีัก !

@Shaen
26 พ.ค.55