Global ภาค7 NPMที่แอบแฝง

มาตรฐาน
พอดีตอบกระทู้จากเพืิ่อนสมาชิกใน ThaiVi แล้วคึกตอบยาว เลยยกมาเพิ่มเติม
แปะเป็นภาค 7 เลยแล้วกันครับภาคนี้จะเผยความลับที่ซ่อนอยู่้ครับ

เืพื่อนสมาชิก wrote:

global npm ต่ำลงเรื่อยๆนะครับ ส่วน hmpro ดีขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้ hmpro น่าจะดีกว่า ?

ผมตอบ :
ณ ตอนนี้ อัตราส่วนทางการเงินของ HMPRO ดีกว่า GLOBAL แทบทุกตัว แน่นอนครับ
เพราะ ตอนนี้ รูปของของการขยายสาขาที่แตกต่างกัน แต่มันมีอะไรซ่้อนอยู่ครับ !

HMPRO
– จับตลาด กลา่ง-บน เน้น Home User เป็นหลัก สินค้าพวกนี้กำไรเยอะกว่าพวกสินค้าโครงสร้างครับ
เน้นพื้นที่ Premium และมีการขยายสาขาสัดส่วนเช่าในห้างเยอะ ไม่ได้ใช้เงินลงทุนมากเท่าตั้ง Stand Alone ครับ
และมีสาขามากพอที่จะทำให้กระแสเงินสด เพียงพอต่อการขยายสาขา

GLOBAL เน้นตลาด กลาง-ล่าง + ผู้รับเหมา สินค้าโครงสร้่าง Margin น้อยกว่า
แต่ได้เรื่องปริมาณมาแืทน ฉะนั้นการขยายสาขามากขึ้น จะได้ประโยชน์จาก Economy of Scale ครับ
ต่อรอง Supplier ได้เยอะขึ้น OverHead ต่อสาขาก็จะลดลง

การขยายสาขา เน้นการลงทุนบนพื้นที่ของตัวเองใน ต่างจังหวัด
ฉะนั้นการที่เจ้าของที่จะให้เช่า มันก็ได้เงินไม่เป็นก้อน เจ้าขายที่เลยเรียกราคาค่อนข้างสูง
ผบห ชั่งน้ำหนัก ทั้งแบบ ซื้อ/เช่า แล้ว ถ้าเป็นพื้่นที่ต่างจังหวัด ซื้อคุ้มกว่าในระยะยาว
และมูลค่าของที่ดินบริเวณนั้นก็จะเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาด้วย

ณ ตอนนี้ จำนวนสาขาของ Global ยังไม่มากพอที่จะสร้างกระแสเงินสดโดยไม่พึ่งพิงการกู้ครับ
จึงมีบางส่วนต้องกู้จากธนาคาร แต่กำไรที่ได้ก็มากพอที่จะขยายตัวไปเรื่อยๆครับ
แต่เมื่อมีจำนวนสาขามากพอ มีกำไร > ขยายสาขา
ณ ตอนนั้นก็มีสิทธิ์เลือกที่จะจะลดต้น ลดดอกได้แล้ว ณ ตอนนั้น เมื่อต้นทุนทางการเงินลดไป
NPM ก็พุ่งเอาง่ายๆครับ

——————————————————————————
Image
ไตรมาสล่าสุด Q1/55 ของ HMPRO 46 สาขา
รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ 8,657.57
กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ 832.11
ต้นทุนทางการเงิน 29.19 => 3.5%
ภาษีเงินได้ 192.58
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 610.33
NPM = 610.33/8,657.57 = 7%

—————————————————————–
Image

ของ GLOBAL 14 สาขา ณ ไตรมาสล่าสุด Q1/55
รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ 2,506.12
ค่าเสื่อม 62.31 ล้าน
กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ 224.20
ต้นทุนทางการเงิน 38.24 => 17%
ภาษีเงินได้ 47.67
เหลือกำไรสุทธิ 138.28
NPM = 5.5%

ถ้าต้นทุนการเงินลดลงจาก Warrant หรือมี กองทุนสนใจลงทุน(จาก AGM มีคนขอพบ ผบห เยอะมากๆครับ )
เอาแึ้ึค่เหลือ 7 % ให้ยังต้นทุนมากกว่าเป็น 2 เท่าของ HMPROเลย

ต้นทุนทางการเงิน(ใหม่) 7%= 15.7 ล้าน
กำไรสุทธิจะ = 224.20-15.7-47.67 = 160.83
NPM ใหม่= 6.41% => +16.5%

หรือแค่ลอง บวกกลับค่าเสื่อม ไป 62.31 ล้าน โดยใ้ช้ต้นทุนการเงินเดิมนี่แหละ

กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ 224.20+62.31 = 286.51 ล้าน
ต้นทุนทางการเงิน 38.24 (ใช้ของเดิม)
ภาษีเงินได้ 47.67=> 66 ล้าน
เหลือกำไรสุทธิ 286.51-38.28-66 = 182.23 ล้าน  (เดิม 138 ล้าน +31.8% ที่ซ่้อนอยู่)
NPM = 7.27 % !! > HMPRO ซะอีก
(แก้ไขจาก ThaiVi นะครับ เพราะ EBITDA เพิ่ม ภาษีต้องเพิ่มตามด้วย)

การคิดค่าเสื่อมทำให้ประหยัดภาษีไปได้ประมาณ 18 ล้าน!

แล้วถ้าเอา 2 ปัจจัยมาบวกกันล่ะครับ หึ หึ มันจะกระฉูดขนาดไหน

นี่แหละครับ ที่ผมพยายามจะบอก

จะเห็นว่า มีการปรับมูลค่าสินทรัพย์ทุก 3 ปี แต่ละครั้งก็ขึ้นโขเลยครับ แต่ข้อเสียคือ
ในตอนเริ่มใช้เงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างมาก + ค่าเสื่อมทางบัญชีจะดูเยอะ เมื่อเปิดสาขาใหม่

ค่าเสื่อมนี่ บริษัทไม่ได้จ่ายเงินออกไปนะครับ แถมยังทำให้จ่ายภาษีน้อยลงด้วย 🙂
ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้มีเงินลงทุนในบริษัทเพิ่มได้อีกครับ

เมื่อปีท้ายๆหรือครบกำหนดตัดสินทรัพย์ทางบัญชี หรือตัดน้อยลง ตัวสินทรัพย์ประเภทร้านกึ่งโกดังจะยังใช้งานอยู่
อาจะมีแค่ค่าดูแลรักษา ตอนนั้น NPM จะพุ่งเลยครับ

คล้่ายๆกับกรณีธุรกิจการเดินสาย เดินท่อ วางรากฐานในครั้งแรกๆ จะโดนค่าเสื่อมในช่วงแรกเยอะ
แต่เมื่อตัดค่าเสื่อมหมด แต่ท่อหรือโครงข่าย ยังใช้ได้อยู่ ที่เหลือก็กำไรล้วนๆครับ

แต่ถ้าเป็นเครื่องจักรในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนเทคโนโลยี ถ้าตัดค่าเสื่อมครบ
อาจบรรจบกับหมด cycle ของ product line นั้นแล้ว ถ้าจะลงทุนต่อ ก็ต้องสั่งเครื่องจักรใหม่หมด
อันนี้มีผลแน่คับ

การดูหรือเปรียบเทียบ NPM ถ้าพิจารณาองค์ประกอบเสริมของแต่ละธุรกิจด้วย จะท่ำให้เห็นภาพชัดขึ้นครับ

และภาคนี้จะเป็นเครื่องยืนยันชี้ชัดว่า ทำไม Global จึงเป็นคู่้แข่งที่หลายๆคนเริ่มจับตาไม่กระพริบ
ถึงขั้นมีการสืบเสาะกันจากคู่แข่งว่า จะไปเปิดที่สาขาไหนอีก
และตอบคำถามที่ว่า ทำไมถึงกล้าขยายสาขา
มากซะขนาดนี้ แล้วทำไมธนาคารให้ปล่อยกู้ได้อีก

เพราะความจริงแล้ว อัตรากำไรสุทธิที่ซ่้อนอยู่เยอะกว่า HMPRO ซะอีัก !

@Shaen
26 พ.ค.55

หนึ่งการตอบรับ »

  1. ค่าเสื่อมต้องตัดในระยะเวลาลาเหมาะสมคับ
    ถ้าตัดเร็วไป ไม่ตรงวืจารณญาณ สรรพากร จะใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้คับ

    • ขอบคุณครับคุณ nut เห็นด้วยครับว่า จะตัดตามอำเภอใจคงไม่ได้ สรรพกรไม่ปล่อยไปง่ายๆแน่

      ประเด็นของผมคือ ค่าเสื่อมของโกดังสินค้าแบบ Global ที่มันไม่ได้หรูหราอะไร
      พอปีหลังๆที่ค่าเสื่อมน้อยลงเพราะใกล้หมดอายุตามบัญชี

      แต่สภาพจริงก็ยังใช้งานไ้ด้อยู่ อาจจะมีค่าดูแลรักษาอยู่บ้่าง ก็ไม่น่าจะมากนัก

  2. ค้าปลีกส่วยใหญ่ก็จะเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว
    แต่ของ global จะต่างตรงที่ยังในอยู่ high capex ไปอีกหลายปี โอกาสที่จะได้ประโยชน์จริงๆจากการตัดค่าเสื่อมอีกนานเลยคับ
    อาคารสิ่งปลูกสร้าง ปกติ 10 ปี แต่ global ผมไม่แน่ใจ
    อีกเรื่อง คือ ไม่รู้ว่า ถ้าบำรุงรักษา ทีจะมีการแปลงมูลค่าหรือไม่
    ต้องตามอีกหลายปีเลยคับ

    ยังไงผมขอเกาะ คุณแชนไปด้วยละกัน 55555

  3. อุตสาหกรรมการผลิต เรื่องค่าเสื่อมจะอยู่ใน cogs ไม่น่าคิด cross กันได้คับ
    เพราะ มันเป็นเหมือน variable cost มากกว่า คับ

ใส่ความเห็นได้เลยครับ:)